การใช้สื่อ

เทคนิคการใช้สื่อการสอน



 
สื่อวัสดุอุปกรณ์การสอนเป็นเครื่องมือสำคัญที่จะช่วยให้การเรียนการสอนดำเนินไปด้วยดี  การสอนที่มีการใช้วัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนนอกจากจะทำให้นักเรียนเห็นควรเป็นรูปธรรมของสิ่งที่ครูสอนและเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจให้เด่นชัดและง่ายขึ้น  อย่างไรก็ตาม  สื่อการสอนจะมีคุณค่าก็ต่อเมื่อครูได้นำไปใช้อย่างเหมาะสมและถูกวิธี  ก่อนที่จะนำสื่อไปใช้  ครูควรที่จะศึกษาลักษณะและคุณสมบัติของสื่อการสอน
ความหมายของคำว่า  สื่อ  ตามพจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน  พุทธศักราช  2542  มีหลากหลายความหมาย  เช่น  สื่อความหมาย  (ราชบัณฑิตยสถาน, 2546:1200)   สื่อการสอนหมายถึงสิ่งที่ทำให้ผู้เกี่ยวข้องกับการสอน  ซึ่งก็คือครูและนักเรียนติดต่อถึงกัน  เพื่อสื่อความหมายของสิ่งที่ต้องการจะสอนหรือให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้
กิดานันท์  มะลิทอง (2544:1)  กล่าวว่า  สื่อและสื่อการสอนและการฝึกอบรมว่า  สื่อเป็นคำมาจากภาษาลาติน  medium  แปลว่า  ระหว่าง  หมายถึง  สิ่งใดก็ตามที่บรรจุข้อมูลเพื่อให้ผู้ส่งและผู้รับสามารถสื่อสารกันได้ตรงตามวัตถุประสงค์   สื่อการสอนและการฝึกอบรม  เป็นสื่อที่บรรจุเนื้อหาเกี่ยวกับการเรียนการสอนและฝึกอบรมในรูปแบบของวัสดุ  อุปกรณ์  และเทคนิควิธีการ  โดยอาจเป็นหนังสือ  แผนภูมิ  รูปภาพ สไลด์  และอื่นๆ
วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน
วัตถุประสงค์หลักในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนแต่ละครั้ง  ก็เพื่อให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้  มีทักษะและมีคุณลักษณะที่พึ่งประสงค์มากยิ่งขึ้น
เฉลิม  มลิลา  (2526:118)  กล่าวว่า  วัตถุประสงค์ของการใช้สื่อการสอน  หลายประการ
1                     เพื่อให้ประสบการณ์ตรงและเป็นจริงแกนักเรียน
2                     เพื่อให้นักเรียนไดโดยง่าย  และสะดวกขึ้น
3                     เพื่อเร้านักเรียนให้มีความสนใจในบทเรียนอย่างต่อเนื่อง
4                     เพื่อให้นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอน
5                     เพื่อให้นักเรียนเกิดทักษะความสามารถ
6                     เพื่อให้นักเรียนกล้าแสดงออกทางความคิด  การแสดงบทบาทอย่างสมควร
7                     เพื่อให้นักเรียนเกิดความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
8                     เพื่อสร้างบรรยากาศที่ดีในการเรียนการสอน
9                     เพื่อสร้างปฏิสัมพันธ์ที่ดี  ระหว่างนักเรียนกับครู
10                 เพื่อให้ประหยัดเวลา  วัสดุอุปกรณ์  ค่าใช้จ่ายและบุคลากรครู


ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียน
ระวิวรรณ  ศรีคร้ามครัน  (2551:93)  กล่าวถึงประโยชน์ของสื่อการสอนดังนี้
1      ช่วยพัฒนาความคิดของนักเรียน การที่นักเรียนได้รู้  เห็นสภาพของปัญหาต่างๆได้ยินหรือได้สัมผัสโดยการใช้สื่อการสอนประเภทต่างๆ
2         เพิ่มพูนประสบการณ์ให้แก่นักเรียน  ทำให้นักเรียนมีประสบการณ์มากขึ้นเนื่องจากได้เห็นของจริง
3         กระตุ้นหรือเร้าความสนใจของนักเรียน  ซึ่งสิ่งต่างๆ  ที่นำมาเสริมการเรียนรู้ของนักเรียนนอกเหนือจากการเรียนปกติในชั้นเรียน
อาภรณ์  ใจเที่ยง  (2546:188)  อธิบายถึงประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อนักเรียนไว้
1      เป็นสิ่งที่ช่วยให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีประสิทธิภาพ  เพราะช่วยให้นักเรียนเกิดความเข้าใจเนื้อหาบทเรียนที่ยุ่งยากซับซ้อนได้ขึ้นในระยะเวลาสั้น
2         ช่วยกระตุ้นและสร้างวามสนใจให้กับนักเรียน  ทำให้เกิดความสนุกและไม่เบื่อหน่ายการเรียน
3         ทำให้นักเรียนมีความเข้าใจตรงกัน 
4         ช่วยให้นักเรียนได้มีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนการสอนมากขึ้น
5         ช่วยสร้างสรรค์ลักษณะนิสัยที่ดีในการศึกษาค้นคว้าหาความรู้  และช่วยให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์
6         ช่วยแก้ปัญหาเรื่องความแตกต่างระหว่างบุคคล  โดยจัดการให้มีการใช้สื่อในการเรียนการสอนรายบุคคล
ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครู
ประโยชน์ของสื่อการสอนที่มีต่อครูนั้นมีมากมาย  หากไม่มีสื่อการสอนแล้วก็จะทำให้รูต้องใช้เวลามากในการอธิบายให้นักเรียนเข้าใจ  แต่หากมีสื่อช่วยครูแล้ว  นักเรียนจะเข้าใจได้ง่ายเห็นภาพของสิ่งที่ครูกำลังอธิบายได้อธิบายได้ชัดเจนยิ่งขึ้น  โดยเฉพาะอย่างยิ่งสื่อของจริง   นักวิชาการหลายท่านได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับประโยชน์ของสื่อที่มีต่อครู
ศักดิ์  ปาณะกุล  (2550:6-7)   กล่าวถึงคุณค่าของสื่อการเรียนรู้ต่อครู
1      ช่วยสร้างบรรยากาศการจัดการเรียนรู้ที่ดี   น่าสนใจ   สนุกสนาน  มีความน่าเชื่อถือจึงสร้างความเชื่อมั่นให้กับครูได้เป็นอย่างดี
2      ช่วยแบ่งเบาภาระการจัดการเรียนรู้   เช่น   ทำให้ครูพูดน้อยลง  ถ่ายทอดเนื้อหาด้วยตนเองน้อยลง  โดยที่นักเรียนเรียนรู้ได้เองภายใต้การกำกับดูแลหรือเงื่อนไขของครู
3      ช่วยกระตุ้นให้ครูเตรียม  ผลิต   หรือพัฒนาสื่อใหม่ๆ  รวมทั้งคิดค้นวิธีการที่น่าสนใจ
4      ช่วยแก้ปัญหาและทดแทนสิ่งที่ครูไม่ถนัด   เช่น   พูดไม่เก่ง จดจำข้อมูลได้ไม่มากพอขาดความเชื่อมั่นในตนเอง
5      ช่วยให้ครูสามารถจัดประสบการณ์การเรียนรู้ได้หลากหลายรูปแบบ สำหรับการสอนที่เป็นกลุ่มใหญ่  กลุ่มย่อย  และเป็นรายบุคคล
6      ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการจัดการเรียนรู้ของครูโดยตรง  เพราะทำให้ครูสามารถสอนได้รวดเร็ว  ถูกต้องแม่นยำ  ใช้เวลาสั้นลง  แต่ทำให้นักเรียนได้ความรู้มากขึ้น
7      ช่วยให้ครูมีปฏิสัมพันธ์และติดตามดูแลนักเรียนเป็นรายบุคคล
8      ช่วยให้ครูวัดและประเมินผลการเรียนรู้ได้ตรงจุดมุ่งหมายในทุกขั้นตอนเพราะสื่อมีองค์ประกอบทั้งในด้านจุดมุ่งหมาย  เนื้อหา  วิธีการและเครื่องมือในการวัดและประเมินผล
9      ช่วยให้ครูนำประสบการณ์จากแหล่งการเรียนรู้ที่มีอยู่มากมายภายนอกห้องเรียนมานำเสนอต่อนักเรียน
10   ช่วยให้ครูได้รับผลป้อนกลับจากนักเรียนและนำข้อมูลที่ได้จากนักเรียนไปปรับปรุง
สื่อในยุคปัจจุบัน
เมื่อสมัยก่อนครูใช้สื่อกระดานดำหรือสื่อต่างๆ  ที่เตรียมจากกระดาษหรือสื่อของจริง  ต่อมาใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัย  ก็จะเป็นเครื่องฉายสไลด์และฉายภาพข้ามศีรษะ  แต่ในปัจจุบันการใช้เครื่องฉายสไลด์จะไมค่อยนิยม   แต่จะใช้การถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิตอลและเชื่อมต่อกับจอโทรทัศน์หรือใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์นำเสนอแทน
ประเภทของสื่อการสอน
สื่อการสอนมีหลายปะเภท  และมีการจำแนกประเภทโดยใช้เกณฑ์ที่แตกต่าง  สิริพัชร์   เจษฏาวิโรจน์  (2550:71-72)                จำแนกสื่อได้ 6  ประเภท
1      สื่อสิ่งพิมพ์  มีทั้งสิ่งพิมพ์ที่จัดทำขึ้นเพื่อสนองการเรียนรู้ตามหลักสูตรโดยตรง  เช่น  หนังส่อเรียน  คู่มือครู  แผนการเรียนรู้  หนังสืออ้างอิง  หนังสืออ่านเพิ่ม  และอื่นๆ
2      สื่อบุคคล   หมายถึง   ตัวบุคคลที่ทำหน้าที่ถ่ายทอดสาระความรู้  แนวคิด  และวิธีปฏิบัติ  นับเป็นสื่อการเรียนรู้ที่มีบทบาทสำคัญ   โดยเฉพาะการโน้มน้าวจิตใจของนักเรียน
3         สื่อวัสดุ   เป็นสื่อที่เก็บสาระความรู้อยู่ในตัวเอง  จำแนกออกเป็น  2  ลักษณะ
3.1  วัสดุที่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเอง  เช่น  รูปภาพ   หุ่นจำลอง
3.2   วัสดุประเภทที่ไม่สามารถถ่ายทอดความรู้ได้ด้วยตนเองจำเป็นต้องอาศัยอุปกรณ์อื่น  เช่น  ฟิล์มภาพยนตร์  เทปบันทึกเสียง  ซีดีรอม  แผ่นดิสก์
4      สื่ออุปกรณ์   หมายถึง  สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่าน  ทำให้ข้อมูลหรือข้อความที่บันทึกในวัสดุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน
5      สื่อบริบท  เป็นสื่อที่ส่งเสริมหรือสนับสนุนการเรียนการสอน  ได้แก่  สภาพแวดล้อม  และสถานการณ์ต่างๆ  เช่น  ห้องเรียน   ห้องปฏิบัติการ  แหล่งวิทยาการหรือแหล่งเรียนรู้อื่นๆ
6      สื่อกิจกรรม   เป็นกิจกรรมหรือกระบวนการที่จัดขึ้นเพื่อส่งเสริมสร้างประสบการณ์การเรียนรู้ให้กับนักเรียน  ได้แก่   การแสดงละคร  บทบาทสมมติ  การสาธิต  และอื่นๆ
หลักและเทคนิคการใช้สื่อการสอน
ในการใช้สื่อสำหรับการเรียนการสอนนั้น  ครูต้องมีทักษะหลายประการ  ต้องสามารถเลือกสื่อได้เหมาะสม  เตรียมสื่อได้ดี  ใช้สื่อได้ถูกต้อง  เหมาะสมกับขั้นตอนของการสอนและสภาพแวดล้อมของห้องเรียน  การใช้สื่อการเรียนการสอนจะได้ผลดี  ครูต้องรู้หลักและเทคนิคในการใช้สื่อการสอนในขั้นตอนต่อไปนี้
1         การเลือกสื่อการสอน
2         การเตรียมสื่อการสอน
3         การใช้สื่อการสอน
4         การจัดกิจกรรมต่อเนื่องจากการใช้สื่อการเรียนการสอน
5         การประเมินผลสื่อการสอน
การเลือกสื่อการสอน
การเลือก  หมายถึง  กาใช้ความพยายามในการพิจารณา  ตัดสินใจ  กำหนด  คัดสรร   ค้นหรือแสวงหาสิ่งที่ผู้เลือกต้องการ   การเลือกสื่อการสอนหรือสื่อการเรียนรู้มีความหมาย  2  ลักษณะ
1         การเลือกสื่อจากสิ่งทีมีอยู่แล้วจากแหล่งอื่นๆ  เช่น  ศูนย์บริเวณสื่อการเรียนรู้สื่อที่มีตามธรรมชาติ
2      การเลือกสื่อที่ยังไม่มีสื่อนั้นอยู่จริงในขณะที่เลือก   การเลือกสื่อลักษณะนี้จึงเป็นการกำหนดหรือระบุลักษณะหรือคุณสมบัติเฉพาะของสื่อที่ต้องการไว้ล่วงหน้า
วัตถุประสงค์ของการเลือกสื่อ
1                     เพื่อให้มีหรือได้มาซึ่งสื่อการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเนื้อหาของบทเรียน
2                     เพื่อการวางแผนและเตรียมการใช้สื่อที่มีประสิทธิภาพ
3                     เพื่อวางแผนกาออกแบบ  การผลิต  การดัดแปลงหรือการพัฒนาสื่อ
4                     เพื่อการออกแบบการจัดการเรียนรู้และการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ
5                     เพื่อการวางแผนงานบริหารและจัดสรรงบประมาณที่เกี่ยวข้องกับสื่อ
6                     เพื่อเตรียมความพร้อมและสร้างความเชื่อมั่น

ประโยชน์ที่ได้รับจากการเลือกสื่อ
1                     ช่วยให้การจัดการเรียนรู้บรรลุวัตถุประสงค์และมีประสิทธิภาพ
2                     เป็นการใช้ทรัพยากร  ที่มีอยู่ให้คุ้มค่าและประหยัดด้วยการเลือก
3                     เป็นการวางแผนการจัดการเรียนรู้ที่ดี

การเตรียมสื่อการสอน
การเตรียมสื่อการเรียนการสอนเป็นขั้นตอนที่สำคัญ   ซึ่งหากมีการเตรียมที่ดีจะช่วยให้การเรียนการสอนเป็นไปอย่างราบรื่น  และประสบผลสำเร็จในที่สุด  สิ่งที่ควรปฏิบัติในการเตรียมสื่อการสอน
อรนุช  ลิมตศิริ  (2551:84-85)   กล่าวถึง  การเตรียมการใช้สื่อใน 4  ส่วน  ซึ่งได้แก่การเตรียมตัว  เตรียมสื่อ  เตรียมนักเรียน  เตรียมสภาพแวดล้อม   ดังนี้
1                     เตรียมตัวครู
1.1          เตรียมตัวศึกษาเนื้อหาที่อยู่ในสื่อว่ามีเนื้อหาครบถ้วน
1.2          วางแผนการใช้สื่อว่าจะใช้สิ่งใด  เมื่อไร  อย่างไร
2                     เตรียมสื่อการสอน
2.1     ตรวจสภาพสื่อการเรียนการสอนให้อยู่ในสภาพพร้อมที่จะนำไปใช้โดยไม่เกิดปัญหา
2.2     เตรียมจำนวนสื่อการเรียนการสอนให้เพียงพอกับจำนวนนักเรียน
2.3     เตรียมสิ่งจำเป็นที่จะต้องใช้ควบคู่กับสื่อการเรียนการสอน  เพื่อความคล่องตัวในการใช้และเสริมความเข้าใจ
2.4     ทดลองใช้สื่อการเรียนการสอนตามแนวที่จะนำไปใช้จริง
2.5     เตรียมจัดลำดับสื่อการเรียนการสอน  เพื่อให้สะดวกต่อการใช้หรือนำออกแสดง
3                     เตรียมนักเรียน
3.1     มีการแนะนำหรือให้ความคิดรวบยอดว่าเนื้อหาในสื่อเป็นอย่างไร  เพื่อให้นักเรียนเตรียมพร้อมในการฟัง  ดูหรืออ่านบทเรียนให้เข้าใจและจับประเด็น
3.2     หากนักเรียนมีการใช้สื่อด้วยตนเอ  ครูต้องบอกวิธีการใช้อุปกรณ์ที่นักเรียนไม่เคยใช้มาก่อน
4                     เตรียมสภาพแวดล้อม 
4.1     เตรียมสภาพห้องเรียนให้สอดคล้องกับการใช้สื่อ
4.2     ตรวจสภาพความพร้อมด้านต่างๆ  ที่มีผลกระทบต่อการใช้สื่อ 
การใช้สื่อการสอน
ขั้นตอนการใช้สื่อเป็นขั้นตอนที่สำคัญ   แม้เลือกสื่อที่จะใช้ได้ดี  และเตรียมสื่อไว้พร้อม   หากครูไม่มีทักษะการใช้สื่อ ผลลัพธ์การเรียนรู้ของนักเรียนก็ย่อมเกิดขึ้นน้อย  กิดานันท์  มลิทอง  (2531:87-88  อ้างถึงใน  อาภรณ์  ใจเที่ยง (2546:10 )  กล่าวว่า  การใช้สื่อการสอนนั้นอาจใช้เฉพาะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งของการสอน  ดังนี้
1         ขั้นนำเข้าสู่บทเรียน  เพื่อกระตุ้นให้นักเรียนเกิดความสนใจเนื้อหาที่กำลังจะเรียน
2         ขั้นดำเนินการสอนหรือประกอบกิจกรรมการเรียน  เป็นขั้นสำคัญในการเรียน  เพราะเป็นขั้นที่ให้ความรู้เนื้อหาอย่างเป็นระเบียบ
3      ขั้นวิเคราะห์และฝึกปฏิบัติ  เพื่อเป็นการเพิ่มพูนประสบการณ์ตรงแกนักเรียน  เพื่อให้นักเรียนได้ทดลองนำความรู้ด้านทฤษฏี  หรือหลักการที่เรียนมาแล้วไปใช้แก้ปัญหาในขั้นฝึกหัดโดยลงมือปฏิบัติเอง
4      ขั้นสรุปบทเรียน   เป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนการสอน   เพื่อย้ำเนื้อหาบทเรียนให้นักเรียนมีความเข้าใจที่ถูกต้องตามวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้
5      ขั้นประเมินนักเรียน  เป็นการทดสอบว่า  นักเรียนเข้าใจสิ่งที่เรียนมากน้อยเพียงใดและบรรลุวัตถุประสงค์เชิงพฤติกรรมที่กำหนดไว้หรือไม่
เทคนิคการใช้สื่อการสอน
1         ควรแสดงสื่อการสอนให้เห็นได้ชัดทั่วห้องทั้งห้อง
2         ควรหาที่ตั้งวางแขวนสื่อที่มีขนาดใหญ่  และมีน้ำหนักเบา
3         ควรใช้ไม้ยาวและมีปลายแหลมชี้  แผนภูมิ  แผนที่
4         ควรนำสื่อการสอนมาเรียงเป็นกันไว้อย่างเป็นลำดับที่หน้าชั้นเรียนก่อนถึงเวลาก่อน
5         ควรเลือกใช้เครื่องมือประกอบการใช้สื่อให้เหมาะสม
6         ในบางกรณีควรมีการเตรียมนักเรียนล่วงหน้าก่อนใช้สื่อการสอน  เช่น  ครูต้องการให้นักเรียนมีการสังเกตในเรื่องใด
7         ควรใช้สื่อการสอนใช้คุ้มค่ากับที่ได้เตรียมมาและใช้อย่างทะลุถนอม   กล่าวถือ  พยายามใช้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด
8         พยายามเปิดโอกาสให้นักเรียนได้มีกิจกรรมร่วม  หรือได้ศึกษาจากสื่อการสอนนั้นๆด้วยตนเอง
9         ควรคำนึงถึงความปลอดภัยในการใช้สื่อบางชนิด
การประเมินผลสื่อการสอน
สิริพัชร์  เจษฏาวิโรจน์ (2550:74-75)   ได้ให้ข้อคิดเกี่ยวกับการประเมินสื่อการสอนว่าการประเมินการใช้สื่อเป็นการนำข้อมูลที่ได้จาการใช้สื่อมาวิเคราะห์ให้เกิดความชัดเจนที่ความเหมาะสมกับกลุ่มนักเรียนในระดับใด  โดยจะต้องพิจารณาลักษณะทางกายภาพของสื่อลาสระที่สื่อไปยังนักเรียน   บางครั้งสื่อการเรียนรู้ที่นำมาใช้นั้นอาจมีความเหมาะสมด้านกายภาพ  แต่คุณค่าในด้านสาระยังไม่สามารถทำให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ตามเป้าหมาย
สิ่งที่ควรปฏิบัติสำหรับการฝึกเทคนิคการใช้สื่อการสอน
ประดินันท์  อุปรมัย  (2540:176-177)  กล่าวว่า  เพื่อให้มีทักษะความชำนาญในการใช้สื่อการสอน  ครูควรได้ปฏิบัติดังต่อไปนี้
1      ศึกษาหลักในการสร้างหรือเลือกวัสดุอุปกรณ์ประกอบการสอนให้เหมาะกับวัยและความสามารถของนักเรียนที่จะสอนให้เหมาะกับเนื้อหาสาระที่เหมาะสม
2         หาโอกาสเข้าสังเกตการณ์สอนของเพื่อครูด้วยกัน  แล้วพิจารณาผลที่ได้รับเพื่อจะได้วิเคราะห์ดูว่าการใช้อุปกรณ์การสอนชนิดใด 
3         หาโอกาสเข้าสังเกตการสอนของครูที่ประสลความสำเร็จในการสอนโดยเฉพาะอย่างยิ่งเทคนิคการใช้วัสดุอุปกรณ์การสอน





http://www.youtube.com/watch?v=cI1bb0g2hfY